วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

เกษม ก้อนทอง (2549 : 135) สื่อหลายมิตินั้น เป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อความหลายมิติ hypertext นี้มานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช Vannevar Bush เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้หลายๆข้อมูล ในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่างๆได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่างๆ กระโดดข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็นเส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการจำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertextหรือข้อความหลายมิติ คือ เทคโนโลยีของการอ่านและการเขียน ที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหา โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิก อย่างง่าย ที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “ จุดต่อ ” nodeโดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้ โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือ เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกัน ในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้ โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตร หรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
Petr Stengl,Ivan Jelinek(2006)(http://School.obec.go.th./sup_br3/t_1.htm.)
สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น ระบบจะเลือกข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนในแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ รูปแบบการเรียนรู้ หรือข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบสนองตรงตามความต้องการสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพ ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) รูปแบบหลัก (domain model -DM) 2) รูปแบบผู้เรียน (student model -SM) 3) รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model - AM ) โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบ (Interface) ผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorerเป็นต้น
สื่อหลายมิติ Hypermedia มีนักวิชิการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของ หลายมิติ ไว้ดังนี้
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542 : 53 ) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โครตอาชา (2542 : 53 ) กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์ ลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : ) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการนำเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติ และสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน



สรุปได้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ได้มีการพัฒนามาจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา มีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ เป็นต้น








9. สื่อประสม คืออะไร

ในการใช้สื่อการสอนต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” (Multimedia) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่างๆมาใช้ร่วมกัน โดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไป แล้วจะใช้แต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสม โดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” (Teaching Package) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชาและเป็น “ ชุดการเรียน ” (Learning Package) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 14) ให้ความหมายว่า สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
อีริคสัน (Erickson. 2533 : 14) ได้แสดงความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่ง ใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษา (18 – 19) ได้ให้ความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียงจากความหมาย ของคำว่า สื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
สื่อประสม(Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอน โดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและมีลักษณะเป็น “ สื่อหลายแบบ ”
สื่อประสม(Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรืการผลิต เพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยผู้ที่ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง

สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบัน มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ และเสียง
8. สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมาย ของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด เพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย
เปรื่อง กุมุท (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 8) ได้ให้ทัศนะว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุสิ่งสิ้นเปลือง อุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ผุผังได้ง่าย และวิธีการ กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อธิพร ศรียมก (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไรก็ได้ ที่ไม่ใช้ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจสนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คณะนิสิตปริญญาโท,มศว.ประสานมิตร (2519) ได้ให้คำจำกัดความว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอด หรือนำความรู้ หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
บราวน์ และคนอื่นๆ (Brown and Others,2533 : 8) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือนั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น


สรุปได้ว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ทำให้การเรียนการสอนสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของครูที่ตั้งไว้
7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวีดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand)วีดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม เข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น
4. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทันที
5. เครือข่ายกรศึกษา เป็นการแบ่งหรือจัดกลุ่มเครือข่ายเพื่อการศึกษาเพื่อให้ครู อาจารย์ และผู้เรียน มีโอกาสใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการแสวงหาความรู้บนโลกที่ไร้พรมแดน เช่น การบริการรับ – ส่งไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web : www) โดยกลุ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ที่ดูแลโดยทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาจะมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net) ดูแลโดยเนคเทค เป็นการส่งเสริมและขยายโอกาส ในการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สารสนเทศ
6. การใช้งานในห้องสมุด ห้องสมุดในทุกสถาบันการศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเสริมสร้างบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลบริการยืม – คืน ทั้งสื่อที่เป็น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นรายการหนังสือผ่านเว็บไซต์
7. การใช้งานห้องปฏิบัติการในการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์จะต้องมีการฝึกปฏิบัติ จึงต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการ เช่น นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะมีการฝึกเขียนโปรแกรมหรือสอบผ่านเครื่องในห้องที่สาขาวิชากำหนดหรือใช้ปฏิบัติการ เป็นต้น
8. การใช้งานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน ล้วนแต่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถสืบค้นหรือแสดงผลสารสนเทศภายในสถาบันได้
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรือนำเสนอบนเว็บไซต์บนทางอินเทอร์เน็ต
10. การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์ และแผ่นโปร่งใสแทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย
11. การใช้เครื่องแอลซีดี (LCD) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง
12. การเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงแบบประสานเวลา และไม่ประสานเวลา


สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับความสนใจและมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้เกิดความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสาน ระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (2542 : 6) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูลข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ ) ที่ถูกกล่าว่าจะมี ผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด
ดังนั้น การจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ การบริหาร จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นไดว่า บริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ไอที ได้เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
วีระศักดิ์ องอาจ (http ://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบ การให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย
(วารสารเทคโน – ทับแก้ว ฉ.2) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการ จุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรับส่งข้อมูล ข่าวสาร และมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อการทำงานด้วย
5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ process เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่า เป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต product หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้ กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต process and product เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
Technologe มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Texere หมายถึง to weave หรือ to construct ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างที่คิดกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง practical art ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
วีระศักดิ์ สอนอาจ (http://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจธรรมชาติกฎเกณฑ์ต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นความหมายที่กว้างขวาง
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539 : 25) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุทิพย์ กาญจนพันธุ์ (2541 : ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อ ทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2541 : ) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี คือ วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผล

เทคโนโลยี เป็นกระบวนการ แนวความคิด แนวทาง วิธีการในการคิดกระทำสิ่งใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มากยิ่งขึ้น
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

ในวงการหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเอามาใช้ เรียกว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” Educational Innovation
เปรื่อง กุมุท (2542 : 15) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะ นวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น โดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่นแต่ในสถานการณ์ ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้แต่ไม่บังเกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ขาดนั่นขาดนี่ ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆพร้อม จึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็ เรียกว่า “ นวัตกรรม ” หรือของใหม่ เช่น เมื่อระบบการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาดีแล้ว การศึกษาเพื่อมวลชนจึงทำไปได้ เป็นต้น
3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่จะกระทำอะไรบางอย่างพอดีและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นหรือวิธีการนั้น สามารถจะช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือทำให้การดำเนินการทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างดี
4. ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารบดบังไว้ตอนนี้ เปลี่ยนผู้ใหญ่หรือผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปในทางสนับสนุนการกระทำหรือความคิดนั้น จึงเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา
5. ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีใครคนหนึ่งคิดได้เป็นคนแรกและเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็เอามาใช้ เขาคนนี้ก็อาจตกที่นั่งเหมือนคนช่างทำ ในข้อ 2 และข้อ 4 ทำให้คับข้องใจได้ คนๆนี้ถ้าโชคดีหน่อย ไม่พบอุปสรรคแบบสองข้อ ดังกล่าว มีโอกาสทำได้ตามสบาย แต่ถ้าทำๆไปยิ่งบานปลาย ไม่ทราบว่าจะลงเอยแบบใด เช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับที่กัปตันประกาศให้ผู้โดยสารเครื่องบินของเขาทราบว่า “ ท่านทั้งหลายขณะนี้เครื่องของเรากำลังทำเวลาได้ดีมาก แต่ไม่ทราบว่าจะลงจอด ณ ที่ใด ”
(http ://www.kmutt.ac.th) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีการระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

สรุปได้ว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น